ในสภาวะเศรษฐกิจซบเซาผู้ประกอบการต้องการให้พนักงานของตนเองทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพอยู่แล้ว หลายบริษัทเกิดปัญหาพนักงานทำงานไม่เต็มที่ ทำให้ผู้บริหารต่างหาวิธีในการส่งเสริมกำลังใจให้กับพนักงาน และในหลายบริษัทกับใช้ทางที่ผิด สำหรับวิธีการที่ไม่ควรทำ มีดังนี้
1.มีโบนัสพิเศษ พนักงานผู้ได้รับโบนัสก็จะขยันทำงานกันมากขึ้น แต่ความสุขที่ว่าก็อยู่ได้ไม่นานนัก พนักงานกลับไม่รู้สึกเป็นพิเศษอะไรกับโบนัสที่ได้รับไปแล้ว และมันก็ไม่ได้ส่งผลหรือช่วยกระตุ้นให้พวกเขาขยันเหมือนเมื่อตอนได้รับโบนัสช่วงแรกๆ สิ่งที่จะช่วยสร้างแรงผลักดันให้พนักงานมีกำลังใจและทุ่มเทให้การทำงานจริงๆก็คือการได้รับการยอมรับและเลื่อนสถานะ ยกย่องและได้เป็นที่หนึ่งนั้นคือปัจจัยหลักที่ทำให้พนักงานคนดังกล่าวเกิดแรงกระตุ้น
2.ให้พนักงานมีความสุขชั่วคราว บางบริษัทถึงกับทำห้องเล่นเกมหรือห้องสันทนาการอื่นๆ ให้พนักงานได้ใช้ในช่วงพัก ด้วยคาดหวังว่าความสุขเล็กๆ น้อยๆ นี้จะช่วยกระตุ้นแรงจูงใจและสร้างกำลังใจให้พนักงาน แต่มันกลับไม่ได้ส่งผลใดๆ ต่อประสิทธิภาพการทำงานของพวกเขาเลย
3.ปล่อยปัญหาให้ผ่านไป อาจเพราะเห็นว่าปัญหานั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่โตและไม่อยากทำร้ายจิตใจพนักงานว่าพวกเขาทำผิด แต่อย่าลืมว่าการมองข้ามปัญหาไม่ได้ก่อให้เกิดผลดีแก่ใครเลย
4.ไม่สามารถสร้างแรงจูงใจได้ ความจริงก็คือพนักงานแต่ละคนนั้นควรได้รับการผลักดันที่แตกต่างกันไป ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่จะต้องวิเคราะห์ให้ออกว่าอะไรคือปัจจัยที่จะช่วยให้พวกเขามีกำลังใจในการทำงาน
5.ไม่จำเป็นต้องทำอะไรเพื่อพนักงานเหล่านี้อีก ทุกบริษัทต่างก็อยากได้พนักงานเก่งๆ มาทำงานด้วย เพราะคนเหล่านี้เรียนรู้ไว ปรับตัวได้ง่าย และมีประสิทธิภาพ จนทำให้เจ้านายคิดไปเองว่าไม่จำเป็นต้องทำอะไรเพื่อพนักงานเหล่านี้อีก อาจตามด้วยการขาดความใส่ใจในงานที่ทำได้
เจ้านายเป็นบุคคลสำคัญในการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน คอยควบคุมและมองความสามารถของพนักงานให้ออก และการใส่ใจพนักงานเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะหากขาดพวกเขาเหล่านี้ก็ไม่สามารถทำให้บริษัทขับเคลื่อนต่อไปได้นั่นเอง